อง เหม่ย์หลิง
อง เหม่ย์หลิง

อง เหม่ย์หลิง

อง เหม่ยหลิง (จีน: 翁美玲; พินอิน: Wēng Měilíng เวิง เหม่ย์หลิง; กวางตุ้ง: ย้ง เหมย์เหล่ง; 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า บาร์บาร่า อง (Barbara Yung) เป็นอดีตนักแสดงหญิงจอแก้วยอดนิยมชาวฮ่องกง สัญชาติอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเอเชียในยุคทศวรรษที่ 80 การเสียชีวิตของเธอเกิดจากการฆ่าตัวตาย สันนิษฐานจากสามสาเหตุคือจากภาวะซึมเศร้า,ปัญหาข่าวลือซุบซิบจากสื่อที่บั่นทอนจิตใจและการผิดหวังในความรักจากแฟนหนุ่มเธอเป็นนางเอกจอแก้วเบอร์หนึ่งของฮ่องกงต่อจาก วังหมิงฉวน และทางทีวีบีจัดอันดับเธอให้เป็นหนึ่งในสิบดาราจอแก้วยุค 80 ที่สวยแบบน่ารักที่สุดของทางช่อง[1] เธอมีผลงานแสดงละครในช่วงปี พ.ศ. 2525-2528 ผลงานที่สร้างชื่อให้เธอโด่งดังเป็นพลุแตกในวัย 23 ปีคือการรับบทเป็น อึ้งย้ง ในละครชุดกำลังภายในสุดคลาสสิกของกิมย้งเรื่อง "มังกรหยก ภาค1 (1983)" ด้วยความสำเร็จอย่างสูงทั่วทั่งเอเชียของละครมังกรหยกเวอร์ชันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮ่องกงที่มีเรตติ้งยอดผู้ชมสูงถึง 99% และเรตติ้งเฉลี่ยสูงถึง 65 จุดเปิด ส่วนในจีน ก็สามารถทำเรตติ้งสูงถึง 90% กลายเป็นหนึ่งในละครชุดทางฮ่องกงที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีน นอกจากนี้ องเหม่ยหลิง ยังได้รับความนิยมอย่างมากในไต้หวันจากละครเรื่อง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง (1983) ที่ได้ออกอากาศทางช่องสี่ ทางไต้หวันด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังคว้ารางวัลสิบอันดับแรกของละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงที่สุดทั่วโลกอีกด้วย โดยมียอดดูสดผ่านทางทีวีครั้งแรกทั่วโลกมากถึง 356 ล้านคน และทุกวันนี้ยังคงติด 10 อันดับละครที่ออกอากาศรีรันซ้ำบ่อยมากที่สุดในจีน[2]จากความสำเร็จทั่วเอเชียถือได้ว่าเป็นละครชุดคลาสสิกที่ทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จที่ไม่มีใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์ฮ่องกง ส่งให้เธอเป็น "อึ้งย้งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด" ในหน้าประวัติศาสตร์ของวงการละครชุดหนังจีน และถูกยกย่องให้เป็น "อึ้งย้งคลาสสิก" อีกทั้งการแสดงในบทนี้ของเธอยังได้รับการยกย่องยอมรับจากผู้คนส่วนใหญ่รวมถึงจากบรรดาสื่อยักษ์ใหญ่หลายสถาบันของทั้งในฮ่องกง,ไต้หวัน, สิงคโปร์ และจีน ว่าเป็น "อึ้งย้งที่แสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด" [3][4][5][6][7][8][9][10] ในปีพ.ศ. 2550 (2007) หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลที่ขายดีที่สุดในฮ่องกง "แอปเปิลเดลี่" (Apple Daily) ที่มีสาขาในจีน และไต้หวัน ต่างคัดเลือกเธอให้เป็นนักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ยอดเยี่ยมที่สุดชนะหมีเซียะและจูอิน โดยบทอึ้งย้ง ที่ องเหม่ยหลิง แสดงอยู่ในอันดับที่สิบ จากผลโหวตของผู้ชมของการจัดอันดับใน 100 นักแสดงที่สวมบทบาทในละครชุดได้ยอดเยี่ยมที่สุด. [11][12]จนมาถึงปัจจุบันนี้ หลังการเสียชีวิตของเธอไปนานหลายสิบปีก็ยังคงไม่มีใครลบสถิติความสำเร็จที่เธอทำไว้ได้ ในบทเดียวกัน จนเป็นที่มาของการขนานนามเธอว่า "อึ้งย้งตลอดกาล"(Ronger Forever) และยังเป็นนางเอกเพียงคนเดียวในวงการจอแก้วฮ่องกงที่ละครสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเกินกว่า 60 จุดเปิด ได้ถึง 2 เรื่อง ติด 10 อันดับแรกของละครที่มีเรตติ้งสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเกาะฮ่องกง คือ "มังกรหยก 1983 (The Legend of the Condor Heroes)" และเรื่อง เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (1984 天師執位) [13]องเหม่ยหลิง เกิดที่ฮ่องกงต่อมาเธอได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยอาศัยอยู่กับมารดาที่ได้รับสัญชาติอังกฤษ และในระหว่างช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ที่นั้นได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันการประกวดนางงามไชน่าทาวน์ของประเทศอังกฤษและสามารถคว้ารองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขาศิลปะการออกแบบสิ่งทอ จาก "สถาบันการออกแบบ เซ็นทรัลสคูล ออฟ อาร์ท แอนด์ดีไซน์" (Central School of Art and Design) ของ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งลอนดอน ( University of the Arts London) ที่ประเทศอังกฤษ แล้ว เธอได้เดินทางกลับมายังฮ่องกง และเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเข้าร่วมประกวดนางงามฮ่องกงในปี พ.ศ. 2525 และผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเสิศ ไดยได้อันดับ 8 จากนั้นได้มีโอกาสเป็นนักแสดงในสังกัดของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี และแจ้งเกิดกับผลงานละครกำลังภายในเรื่องแรก สมิงสาวใจเพชร ในบทนางรองคู่กับ เยิ่น ต๊ะหัว และยังเป็นผลงานที่ทำให้เธอได้พบรักกลางกองถ่ายกับ ทัง เจิ้นเยี่ย พระเอกของเรื่องนี้อีกด้วย ต่อมาผลงานละครเรื่อง "มังกรหยก ภาค1 (1983)" ที่เธอได้รับบทเป็นอึ้งย้ง คู่กับหวง เย่อหัว ในบทก๊วยเจ๋ง และยังมี เหมียว เฉียวเหว่ย และหยาง พ่านพ่าน ร่วมแสดงนำ โดยเฉพาะละครเรื่องหลังนี้ทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นพลุแตกและได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วเอเชียทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ประเทศจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ไต้หวัน และไทย อีกทั้งเธอยังได้รับความนิยมในย่านไชน่าทาวน์ ทั้งใน อเมริกา, แคนาดา และทวีปยุโรป ในปีเดียวกันเธอกลายเป็น นางเอกยอดนิยม ในต่างประเทศเมื่อละครชุด มังกรหยก 1983 คว้ารางวัลละครที่มีผู้ชมสูงสุดแห่งปีในเทศกาลงาน "นิวยอร์กฟิล์มเฟสติวัล" จาก ย่านไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังเป็น 1 ใน 4 ดาราสาวจอแก้วยอดนิยม คือ 4 ดรุณีหยกแห่งยุค 80s[14]และกลุ่ม 7 นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s (TVB 七仙女之一 1980-1986) อีกด้วย หลังจากละครเรื่องมังกรหยกส่งให้เธอได้ก้าวขึ้นเป็นนักแสดงหญิงเบอร์หนึ่งของสถานีโทรทัศน์ทีวีบีทันทีและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาเกือบ 3 ปี เธอมีผลงานแสดงหนังและละคร 10 เรื่อง ทั้งละครเรื่อง "ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว" และ "เทพบุตรทรนง" ต่างก็เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมเช่นกันในขณะที่ชื่อเสียงรุ่งโรจน์สุดขีด และเป็นนางเอกจอแก้วเบอร์หนึ่งอยู่นั้น องเหม่ยหลิง ได้เสียชีวิตกระทันหันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ด้วยวัยเพียง 26 ปี เนื่องจากการฆ่าตัวตาย เพราะผิดหวังในความรักโดยการรมแก๊สในห้องพักหลังจากมีปากเสียงกับทังเจิ้นเยี่ย แฟนหนุ่มของเธอในขณะที่ทั้งคู่เพิ่งจะเปิดกล้องละครที่แสดงเป็นพระ-นางร่วมกันในเรื่อง เซียนโค่นเซียน (The King of the Bridge King 1985) ไปได้ไม่นานทำให้บทบาทของเธอในเรื่องนี้และอีกเรื่องที่แต่เดิมมีการวางตัวเธอแสดงเอาไว้ คือ เล็กเซี่ยวหงส์ เวอร์ชันว่านจือเหลียง (The Return of Luk Siu Fung 1986) ต้องทำการเปลี่ยนตัวนักแสดงสาวคนอื่นมาเล่นแทน ข่าวการเสียชีวิตของเธอโด่งดังมากและกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครคาดฝันนำพาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจให้กับแฟนละครของเธอทั่วทั้งเอเชีย พิธีศพของเธอถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตามแบบคริสต์ศาสนา มีแฟน ๆ ละครมาร่วมไว้อาลัยมากมายเป็นประวัติศาตร์ มีฝูงชนนับหมื่นคนที่มายืนบริเวณหน้างานศพรวมไปถึงผู้คนที่ออกมาร่วมส่งขบวนศพของเธอตามท้องถนนข้างทางอีกประมาณ 100,000 คน โดยที่ร่างของเธอถูกนำไปฌาปนกิจและกลับไปฝังไว้ที่สุสานในเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักรทุกวันนี้ยังคงมีแฟน ๆ จำนวนมากมายที่คิดถึงเธอจะเดินทางไปเยี่ยมหลุมศพของเธอที่อังกฤษเป็นประจำทุกปี[15][16][17]ในปีพ.ศ. 2548 (2005) บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน "ซินล่าง คอร์ป (Sina Corp)" ที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 100 ล้านคน ได้เปิดให้สมาชิกโหวตว่า "บทบาทการแสดงในละครชุดของใครที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด" และองเหม่ยหลิง จากบทบาทอึ้งย้ง เอาชนะ เจิ้ง เส้าชิว ในบท ชอลิ้วเฮียง และโจวเหวินฟะ ในบท สวี่ เหวินเฉียง จากเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ได้[18] .ในปีพ.ศ. 2549 (2006) '"สำนักข่าวซินหัว""(新华通讯社) เว็บไซต์สำนักข่าวชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ได้ยกย่อง องเหม่ยหลิง ให้เป็นนักแสดงสาวที่สวมบทบาทตัวละครอึ้งย้งที่ดีที่สุด และไม่มีนักแสดงสาวคนไหนเทียบชั้นได้[19].ในปีพ.ศ. 2550 (2007) หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลที่ขายดีที่สุดในฮ่องกง "แอปเปิลเดลี่" Apple Daily ที่มีสาขาในจีน และไต้หวัน ต่างคัดเลือกเธอให้เป็น "นักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุด" ชนะหมีเซียะ ในบทเดียวกัน จากการจัดอันดับใน 100 นักแสดงที่สวมบทบาทในละครชุดได้ยอดเยี่ยมที่สุด. [20]ในปีพ.ศ. 2553 (2010) เว็บไซด์ "ไป่ตู้" (Baidu) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดอันดับ 4 ของโลก [21] ได้ยกย่อง อง เหม่ยหลิง เป็น 1 ใน 500 ดารานักแสดงที่มีอิทธิพลต่อผู้คนจากวงการบันเทิงทั่วโลก. [22]

อง เหม่ย์หลิง

เกิด 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
อง เหม่ยหลิง
ฮ่องกงของบริเตน
ยฺหวิดเพ็ง Jung1 Mei5 Ling4
สังกัด สถานีโทรทัศน์ทีวีบี
อาชีพ นักแสดง
คู่ครอง ทัง เจิ้นเยี่ย (2525–2528)
ภาษาจีน 翁美玲
ผลงานเด่น -"อึ้งย้ง" ใน มังกรหยก ภาค1 (1983)
-"ฉินซิซิ" ใน "ยุทธจักรชิงเจ้าบัลลังค์"
-"หลินฉู่เอี้ยน" ใน เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์
- "องค์หญิง ซางเสี่ยวจิ้ง" ใน ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว
- "เซี่ยปี้ฮว๋า" ใน เทพบุตรทรนง
ปีที่แสดง 2525–2528
เสียชีวิต 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
(26 ปี)
Kowloon Tong, ฮ่องกงของบริเตน
การถอดเสียงภาษาจีนกลางมาตรฐานฮั่นยฺหวี่พินอินภาษากวางตุ้งมาตรฐานยฺหวิดเพ็ง
การถอดเสียง
ภาษาจีนกลางมาตรฐาน
ฮั่นยฺหวี่พินอินWēng Měilíng
ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
ยฺหวิดเพ็งJung1 Mei5 Ling4
ฮั่นยฺหวี่พินอิน Wēng Měilíng
ส่วนสูง 159 ซม.

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องคชาตมนุษย์ อง เหม่ย์หลิง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องศาเซลเซียส องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด

แหล่งที่มา

WikiPedia: อง เหม่ย์หลิง http://www.jomyut.club/index.php/news-update/enter... http://www.360doc.cn/article/2253722_284294990.htm... http://www.360doc.cn/article/7986_246877.html http://m.8794.cn/baoliao/2014/8360_4.html http://m.artsuniversity.com.cn/mobile/big5/school-... http://media.people.com.cn/n1/2016/0618/c40606-284... http://blog.sina.com.cn/s/blog_62485ccd0100i69o.ht... http://ent.sina.com.cn/r/i/2005-05-13/1343722941.h... http://www.china.org.cn/top10/2011-07/21/content_2... http://blog.sina.cn/dpool/blog/s/blog_702798e30102...